จุฬาฯ โชว์นวัตกรรม “เซลล์บำบัดผู้ป่วยมะเร็ง CAR-T cell”

จุฬาฯ โชว์นวัตกรรม “เซลล์บำบัดผู้ป่วยมะเร็ง CAR-T cell”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 17 เรื่อง “ความก้าวหน้านวัตกรรม เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell: โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งของไทย” เมื่อวันอังคารที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมโชว์ผลสำเร็จการวิจัยรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชาวไทยด้วย CAR T cell การจัดตั้งสถานที่ผลิตเซลล์ภายในโรงพยาบาลได้รับการรับรองแห่งแรกในประเทศและนวัตกรรมการผลิต CAR T cell ที่ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 10 เท่า โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และรพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น

นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ หัวหน้าหน่วยวิจัยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่านวัตกรรมเซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell เป็นวิธีการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดรูปแบบหนึ่ง โดยการนำเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ของผู้ป่วยมาดัดแปลงพันธุกรรมให้จำเพาะกับเซลล์มะเร็งและเพิ่มจำนวนให้มากพอภายนอกร่างกาย ซึ่งจะทำในห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อพิเศษ จากนั้นจะฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย

ซึ่งนวัตกรรม CAR-T cell นี้มีประสิทธิภาพสูงถึง 50-80% สำหรับการรักษามะเร็งทางระบบเลือดในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆแล้ว ทำให้นวัตกรรมนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิธีการรักษามาตรฐานสำหรับโรคมะเร็งทางระบบเลือดแล้วทั้งในอเมริกาและยุโรป อย่างไรก็ดี การรักษาด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายเชิงพาณิชย์สูงถึง 15 – 20 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย

การผลิต CAR-T cell โดยอาศัยพาหะไวรัส (viral vector) ในการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้ในมนุษย์ทำให้ CAR-T cell มีต้นทุนสูงมาก ทางกลุ่มวิจัยจึงได้ร่วมมือกับคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังศึกษาวิจัยการผลิต CAR-T cell โดยไม่ใช้ไวรัส เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไป จนประสบผลสำเร็จในการปรับปรุงกระบวนการและทดสอบการผลิต CAR-T cell แบบที่ไม่ใช้ไวรัสจากเลือดของผู้ป่วยอาสาสมัครชาวไทย โดยมีต้นทุนการผลิตลดลงถึง 10 เท่า นำไปสู่ความร่วมมือในการวิจัยทางคลินิกต่อไป

ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เมื่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการถ่ายทอดความรู้วิธีการผลิต CAR-T cell ที่ไม่ใช้ไวรัสเป็นพาหะในการดัดแปลงพันธุกรรม

โดยเทคโนโลยี PiggyBac transposon เป็นพาหะทำให้ต้นทุนลดต่ำลงกว่าการใช้ไวรัสมาก การวิจัยและรักษาผู้ป่วยด้วยนวัตกรรมนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อน เริ่มตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วยที่เหมาะสม การแยกเก็บเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยการผลิต CAR-T cell จากเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วย การให้ยากดภูมิคุ้มกันก่อนการให้เซลล์การให้ CAR-T cell แก่ผู้ป่วย เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้จึงมีการจัดตั้งทีมสหสาขาวิชาขึ้น ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญในการผลิตและควบคุมคุณภาพ CAR-T cell ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธนาคารเลือดทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือดและการปลูกถ่ายเซลล์ รวมถึงทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ระบบประสาท เวชบำบัดวิกฤติ และรังสีแพทย์ สำหรับรองรับการวิจัยและรักษามะเร็งด้วย CAR-T cell เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดจากนวัตกรรมนี้

จุฬาฯ โชว์นวัตกรรม “เซลล์บำบัดผู้ป่วยมะเร็ง CAR-T cell”

ทั้งนี้ทีมวิจัยได้เริ่มการวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 1 ในช่วงปลายปี 2563 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพเบื้องต้นของ CAR-T cell ในการใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ที่มีโรคกลับเป็นซ้ำและดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอื่น ๆ แล้วจำนวน 5 ราย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยนวัตกรรม CAR-T cell ได้

หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับ CAR-T cell เข้าไปแล้วนั้น ผู้ป่วยมีการตอบสนองเบื้องต้นอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจและมีผลข้างเคียงอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ใกล้เคียงกับการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์ CAR-T cell ที่ใช้กันอยู่ในต่างประเทศ

นอกจากนี้ในผู้ป่วยอาสาสมัครรายหนึ่งที่มีก้อนขนาดใหญ่ถึง 10 เซนติเมตร และดื้อต่อการรักษามะเร็งทุกชนิดที่มีอยู่ เมื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้พบว่าเราสามารถควบคุมโรคไว้ได้ และทำให้ผู้ป่วยปราศจากโรคมาแล้วถึง 1 ปีหลังจากที่ได้รับ CAR-T cell เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

“งานวิจัยทางคลินิกที่ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำอยู่ในปัจุบัน ได้ขอให้ทางคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเริ่มทำวิจัยในมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด Diffuse Large B – Cell Lymphoma ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการตามปกติได้แล้ว เกิดขึ้นในผู้ใหญ่อายุ 18 – 60 ปี และมีการประเมินประสิทธิภาพการรักษาและความปลอดภัยในผู้ใหญ่ หากได้ประสิทธิภาพที่ดีจะเริ่มใช้ในผู้ป่วยเด็กเป็นขั้นตอนต่อไป ส่วนสถานที่ผลิตในโรงพยาบาลสามารถผลิตได้ประมาณ 20 ตัวอย่างต่อปี เนื่องจากกำลังการผลิตไม่สูงมาก โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กำลังดำเนินโครงการต่อเนื่องในระยะที่สอง เพื่อขยายสถานที่ผลิตและห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในการรองรับผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีนี้ต่อไป”

ทั้งนี้ทีมวิจัยตั้งเป้าไว้ว่าจะดำเนินการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยเพิ่มอีก 7 ราย รวมเป็น 12 ราย ให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 หากผลเป็นที่น่าพอใจ เป้าหมายต่อไปคือการเปิดให้บริการการรักษาด้วย CAR-T cell ที่สามารถผลิตขึ้นเองได้ภายในสถานที่ผลิตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น

“ความร่วมมือทางวิชาการของทั้งสอง มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดผลสำเร็จในการพัฒนาการรักษาด้วยนวัตกรรมเซลล์บำบัดมะเร็งให้เกิดขึ้นได้จริงแล้วในประเทศไทย ในอนาคตทางกลุ่มวิจัยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีต้นทุนลดลง และสามารถใช้รักษามะเร็งชนิดอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น” ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ กล่าว

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันงานวิจัยรักษามะเร็ง ด้วยการเลือกบริจาคให้กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ ผ่านระบบ CU Giving ดังลิงก์ที่แนบมานี้ https://www.chula.ac.th/about/giving/giving-application-form/ บริจาคด้วยตนเองได้ที่ ศาลาทินทัต หรือตึกวชิรญาณวงศ์ ชั้นล่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยระบุว่าบริจาคโดยตรงเข้ากองทุน “เงินบริจาคเพื่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง (รหัสทุน 25010117)” หรือบริจาคผ่าน E-donation ข้อมูลการบริจาคของท่านจะส่งตรงไปยังกรมสรรพากรทันที โดยไม่ต้องขอรับใบเสร็จ เพียงใช้แอปพลิเคชันของธนาคารสแกน QR-Code และกดยินยอมให้ธนาคารเปิดเผยข้อมูลแก่กรมสรรพากรโดยผู้ที่ยื่นภาษีออนไลน์สามารถตรวจสอบสถานะการบริจาคได้ภายใน 5 – 7 วัน หลังทำรายการที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ดังลิงก์ที่แนบมานี้ https://epayapp.rd.go.th/rd-edonation/portal/for-donor

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ piacenzamercato.com

แทงบอล

Releated